Come and enjoy lovely coffee shop and restaurant with great breeze of Chao Phraya River plus lush green garden,near Rama V bridge and Nonthaburi Pier ร้านกาแฟ เบเกอรี่ อาหารกลางวัน ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ช่วงสะพานพระราม5 และท่าน้ำนนท์ บรรยากาศสไตล์บ้านสวน ชมวิวรับลมแม่น้ำ

วันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


อะคริลาไมด์
สารพิษพบในอาหารทอด

               เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา นพ.วิชัย  โชควิวัฒน  ออกข่าวเตือนประชาชนให้ระวังการบริโภคอาหารที่ทอดความร้อนสูง  "ขอให้เด็ก ๆ ลดของทอดและของมัน เพราะมีโอกาสรับสารอะคริลาไมด์มากกว่าผู้ใหญ่ถึง 2-3 เท่า"  นับเป็นการให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภคได้ทันท่วงทีถึงอันตรายจากอาหาร 
               นักวิทยาศาสตร์สวีเดนและอังกฤษได้ค้นพบสารพิษก่อมะเร็งตัวหนึ่งชื่อว่า อะคริลาไมด์ (Acrylamide) ในอาหารหลายอย่าง ประเภทที่ทำเป็นแผ่นบาง ๆ และทอดร้อน ๆ  โดยที่บางตัวอย่างที่ตรวจมีระดับของสารตัวนี้ถึง 12,800 หน่วย ppb
                ผลการตรวจอะคริลาไมด์ในอาหาร โดย สำนักงานอาหารแห่งชาติสวีเดน
       กลุ่มอาหาร                    ปริมาณเฉลี่ยอะคริลาไมด์(มคก./กก.)     จำนวนตัวอย่าง
มันฝรั่งแผ่นทอดกรอบ (Potatoes crisps)              1,200                                          14
มันฝรั่งชิ้นทอด (French fries)                                 450                                            9
ขนมปังแคร็กเกอร์ (Biscuits & crackers)            410                                           14
ขนมปังกรอบ (Crisp breads)                                  140                                           21
ธัญพืชอาหารเช้า (Cereals)                                     160                                           15
ข้าวโพดกรอบ (Corn crisps)                                   150                                             3
ขนมปังนุ่ม (Soft breads)                                        50                                            20
อาหารทอดอื่น ๆ (pizza, pancakes, waffles,       40                                             9
fish fingers, meatballs, chickenbits, deep fried fish, 
vegetarian schnitzel and cauliflower gratin)

               เพื่อความรู้ที่กระจ่าง ผมได้ขอความรู้เพิ่มเติมจาก รศ.ดร.พิชัย  โตวิวิชญ์  นักเคมีอาวุโสท่านหนึ่งที่ทำงานปกป้องผู้บริโภคตลอดมา  ท่านกรุณาให้ความรู้ว่า  "สารนี้เป็นสารเคมีที่โครงสร้างโมเลกุลเล็ก ๆ เท่านั้นเอง คือ CH2 CONH2  ตัวของมันเองเป็นสารไม่มีสี ไม่มีกลิ่น มีจุดหลอมเหลวต่ำ คือ ที่ 84 องศาเซลเซียส  เวลาที่มันหลอมละลายจะมีคุณสมบัติิอย่างหนึ่งคือ จับตัวกันเองเป็นโพลิเมอร์  ซึ่งคุณสมบัตินี้เองในวงการอุตสาหกรรมจะใช้มันในการผลิตสีสังเคราะห์ ทำกาว และงานด้านสิ่งทอ  ถ้ารับสารนี้ปริมาณสูงอย่างปัจจุบันทันด่วนก็เป็นพิษต่อร่างกาย เช่น เป็นพิษต่อผิวหนัง และความรู้ใหม่เวลานี้คือ การรับปริมาณน้อย ๆ ต่อเนื่องจะเป็นสารก่อมะเร็ง
               ทีนี้การเกิดขึ้นของสารนี้ในอาหารก็เป็นเพราะว่า เกิดจากกระบวนการเมลลาร์ด  ซึ่งก็คือ การประจวบกัน 2 ทางระหว่างกรดอะมิโนกับน้ำตาล ซึ่งมีความร้อนสูงในระหว่างการทอดเป็นตัวเร่ง  เริ่มต้นจากโปรตีนในพืชประเภทมันฝรั่งและธัญพืช  จะมีกรดอะมิโนชื่อว่า แอสพาราจีน (Asparagine)  เมื่อเจอกันน้ำตาลจะเกิดปฏิกิริยาเคมีกลายเป็นสารแอมโมเนีย  แค่นั้นยังไม่พอ เนื่องจากว่าในอาหารที่ทอดจะมีกรดอะมิโนเมธิโอนีน (Methionine) อยู่แล้ว  พอถูกความร้อนจะรวมตัวกับกลีเซอรอล (Glycerol) ในน้ำมัน เกิดเป็นสารอะโครเลอีน (Acrolein) ซึ่งจะถูกออกซิไดซ์โดยอนุมูลอิสระต่อ กลายตัวกรดอะคริลิก (Acrylic acid) เมื่อถึงขั้นตอนนี้ แอมโมเนียที่เกิดขึ้นอยู่แล้วจะเข้าไปจับตัวเกิดเป็นสารอะคริลาไมด์ในที่สุด   
               
               นักวิทยาศาสตร์จัดให้สารอะคริลาไมด์อยู่ในระดับที่มีความเป็นไปไ้ด้สูงในการก่อมะเร็งในมนุษย์ (Probable human carcinogen)  จะสังเกตได้ชัดเจนว่า อาหารที่ยังไม่ถูกความร้อนจะมีสารตัวนี้น้อย ถ้าถูกความร้อนยิ่งมากก็จะพบสารตัวนี้มาก 
       ผลการตรวจอะคริลาไมด์ในอาหาร โดย สำนักงานมาตรฐานอาหารสหราชอาณาจักร
                   ชนิดอาหาร                                       ปริมาณเฉลี่ยของอะคริลาไมด์ (หน่วย ppb)
Tesco King Edward potatoes
   - มันดิบ (raw)                                                                              < 10
   - มันต้ม (boiled)                                                                          < 10
   - มันหั่น ทอด (chipped & fried)                                                2,800
มันหั่นทอด (Ross frying chips - as sold)                                      200
   - ทอดสุก (cooked)                                                                       3,500
   - ทอดจนเกรียม (overcooked)                                                     12,800
มันแผ่นคลื่น (Walkers Ridged crisp)                                             1,280
มันแท่ง (Asda maize/potato sticks)                                           2,040
มันฝรั่งชิ้นทอด Pringles (original)                                                  1,480
               อย.มีข้อแนะนำสำหรับประชาชนว่า
            1. ไม่ควรปรุงอาหารโดยใช้ความร้อนสูงเกินไป หรือนานเกินไป
            2. ควรบริโภคอาหารให้ครบทุกหมู่อย่างได้สมดุลกัน ไม่ควรกินอาหารทอดหรือมันมากเกินไป
            3. เด็กมีโอกาสได้รับสารอะคริลาไมด์ในปริมาณต่อน้ำหนักตัวมากกว่าผู้ใหญ่ 2-3 เท่า  จึงควรลดอาหารประเภทของทอดและอาหารมันลง โดยเฉพาะเด็กที่ชอบอาหารประเภทนี้
              อย่างไรก็ดี สารตัวนี้ร่างกายสามารถกำจัดได้โดยการจับของกลูตาไธโอน (Glutathione conjugation) หรือกระบวนการไฮโดรไลสิส  บทบาทของเอนไซม์กลูตาไธโอนซึ่งมีมากที่ตับ  ซึ่งเราสนับสนุนการทำงานของมันได้ด้วยการเพิ่มตัวช่วยอันได้แก่ สารแอนติออกซิแดนต์ต่าง ๆ ได้แก่ ขมิ้นชัน กระเทียม หัวหอม กานพลู อบเชย โป๊ยกั๊ก  พวกผัก เช่น กะหล่ำปลี พริก  ผลไม้ เช่น ส้ม  กระทั่งการเสริมเอนไซม์กลูตาไธโอนได้ด้วยโสม เป็นต้น  ดังนั้น ใครกินฟาสฟู้ดแบบนี้ก็ต้องกินผักและสมุนไพรเข้าไปช่วยเยอะ ๆ  สมุนไพรบางชนิดก็กินสด บางชนิดก็ทำเป็นชาได้  บางชนิดก็มีเป็นลูกกลอนหรือแคปซูล หรืออาจใช้การสวนล้างลำไส้ด้วยกาแฟ  ซึ่งช่วยกระตุ้นตับให้กำจัดสารพิษตามความเหมาะสม

ความรู้จากคอลัมน์ ธรรมชาติบำบัด (มติชนสุดสัปดาห์) โดย น.พ.บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 
Plantilla Minima modificada por Urworstenemy