เราเพียงปรับเปลี่ยนผักและส่วนประกอบอื่นเข้าไปในกับข้าวที่กินอยู่ทุกวันให้เป็นผักผลไม้ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และเครื่องปรุงอื่นที่มีฤทธิ์เย็นตามรายละเอียดข้างต้น เช่น
- น้ำใบบัวบก (แก้ร้อนในกระหายน้ำ ช่วยถอนพิษร้อนในร่างกาย บำรุงผิวพรรณ ชะลอความแก่ ซ่อมแซมเส้นเลือดฝอย บำรุงสมอง ช่วยผ่อนคลายความเครียด ควบคุมระดับความดันโลหิตให้ปกติ ผสมกับน้ำสับปะรดหรือน้ำมะพร้าวอ่อนทำให้มีรสชาติหวานหอมดียิ่งขึ้น)- น้ ำใบเตย (มีน้ำมันหอมระเหย รสหวานสีเขียวสวย มีสารคลอโรฟิลล์ช่วยลดการกระหายน้ำ บำรุงหัวใจ ทำให้สดชื่น ทั้งยังมีเกลือแร่ แคลเซียมและฟอสฟอรัส อาจคั้นผสมกับผักฤทธิ์เย็นอื่นๆ ได้)
- น้ำย่านาง (อาจเพิ่มใบเตยนิด หรือใบบัวบกหน่อย หรือผสมน้ำมะพร้าวอ่อนดื่มง่ายอร่อยขึ้น)
- น้ำใบตำลึงใช้ดับพิษร้อน อุดมไปด้วยวิตามินเอ แคลเซียม ฟอสฟอรัส และเหล็ก
- น้ำำว่านหางจรเข้ (มีสารอะโลอินและสารอะโลอิซิน Aloin - Aloesin ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง โรคระบบทางเดินหายใจอักเสบ สมานแผลในกระเพาะอาหาร ฆ่าเชื้อไวรัสต้นเหตุการเป็นไข้หวัดและสลายสารพิษ จึงช่วยฟื้นฟูการทำงานของตับได้เป็นอย่างดี)
- น้ำเต้าหู้
- น้ำลูกเดือย (มีสารคอกซีโนไลด์ Coxenolide ช่วยยับยั้งการเติบโตของเนื้องอก ทำให้การหมุนเวียนของเลือดที่ผิวหนังดีขึ้น ทำให้ผมดกดำเป็นเงางาม ใช้ลูกเดือยต้มสุก 1 ถ้วยปั่นกับน้ำ 3 ถ้วย ตั้งไฟอ่อนปานกลางแค่พอเดือดใส่น้ำตาลนิดหน่อย ทำได้ 4 แก้ว)
- น้ำใบหมาน้อยหรือหมอน้อย 15-20 ใบ (ผสมใบย่านาง 30-40 ใบและใบเตย 2 ใบ ล้างให้สะอาดหั่นเป็นชิ้นๆ ใส่โถปั่นพร้อมน้ำซัก 6 ถ้วย กรองเอาเฉพาะน้ำ) ใบหมาน้อยหรือเครือหมอน้อย หรือ กรุงเขมา ผักพื้นบ้านมหัศจรรย์ของอิสาน แก้ไข้แก้ปวด ช่วยขับถ่าย มีเพคตินสูง ช่วยดูดซับโคเลสเตอรอลในเส้นเลือดได้ดี ช่วยดูดซับสารพิษ ลดการดูดซึมของน้ำตาลและไขมัน
- ส้มตำมะละกอ ส้มตำฟักเขียวกับมะละกอห่าม ตำแตง สลัดมะเขือเทศ ยำหรือตำผลไม้รวม ยำหรือตำมะม่วงเปรี้ยวผสมมะละกอห่ามกินกับผักวอเตอร์เครสและผักกาดหอม ลาบหัวปลี ยำทวายผักฤทธิ์เย็น ลาบเห็ดฤทธิ์เย็น
- แกงอ่อม แกงส้มผักรวม แกงเลียง แกงแคใบมะรุม
- น้ำพริกอ่องใส่เห็ดฟางสับหยาบแทนหมูสับกินกับแตงกวาสด, น้ำพริกใบหมาน้อยกับเห็ดฟางสับละเอียดกินกับแตงกวา สายบัว ใบบัวบก มะเขือต่างๆ, หลนใช้ถั่วเหลืองและถั่วทองใส่เห็ดฟางกินกับแตงกวา มะเขือเปราะ ผักกาดขาวหรือผักต้มมีดอกขจร ดอกแค ดอกโสน ถั่วฝักยาว มะเขือเปราะ
- ข้าวยำปักษ์ใต้ผักฤทธิ์เย็น สุกี้ผักฤทธิ์เย็นและเห็ดรวม
ตัวอย่างเพียงบางส่วนเป็นแนวทางเพื่อปรับเปลี่ยนการปรุงอาหารในชีวิตประจำวันให้มีฤทธิ์เย็นมากขึ้นสำหรับฤดูร้อนนี้ รายละเอียดศึกษาได้จาก หนังสือ "อาหารฤทธิ์เย็น" สำนักพิมพ์แสงแดด วิธีทำนั้นยืนพื้นจากอาหารที่ทำในชีวิตปกติประจำวัน เพียงปรับวัตถุดิบและเครื่องปรุงตามอาหารฤทธิ์เย็น
Enjoy summer time. Tweet
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น