สาระน่ารู้แด่ผู้รักสุขภาพ
หลายปีที่ผ่านมามีโอกาสดูแลผู้สูงอายุค่ะ ได้ความรู้ในเรื่องอาหารที่ใช้ควบคู่กับการรักษาและดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุมาแชร์กัน โดยอยากให้ระวังอาหารที่มีสารอาหารซ้ำซ้อนกันในแต่ละมื้อหรือแต่ละวันเช่น ผัดวุ้นเส้นหรือยำวุ้นเส้นกับข้าวเปล่า จะเท่ากับเราได้คาร์โบไฮเดรตเพิ่มไปอีก 1-2 เท่าจากข้าวและวุ้นเส้นอาหารสำหรับคนเป็นโรคเบาหวาน
ใช้การจำกัดแคลอรี่ ชนิดและปริมาณคาร์โบไฮเดรต เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด น้ำหนักตัวและป้องกันโรคแทรกซ้อน เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ ดังนั้นอาหารอาจมีรสชาติจืดหรืออ่อนนุ่มน้อยกว่าอาหารทั่วไป โดยใช้แนวทางดังนี้- รับประทานอาหารอย่างหลากหลาย ตรงเวลา และปริมาณเท่ากันทุกวัน
- เลือกรับประทานอาหารรสไม่จัด มีเส้นใยสูง เช่น ผัก ผลไม้รสไม่หวาน ธัญพืช ที่สำคัญคือข้าวกล้องเท่านั้น
- อย่างดรับประทานอาหารมื้อใดมื้อหนึ่ง หรืองดอาหารว่าง
- หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง
อาหารลดโซเดียม
(เพื่อควบคุมความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและอาการบวม)- ลดปริมาณการปรุงด้วยเกลือ ซอสปรุงรสต่าง ๆ เช่นซอสมะเขือเทศ มัสตาร์ด เกรวี่ ซีอิ๊ว น้ำปลา ซุปก้อน รวมทั้งกะปิ ฯลฯ และงดการปรุงอาหารด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีโซเดียม
- รับประทานอาหารสดมากขึ้น หลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง อาหารที่ถนอมด้วยเกลือ บอกลาอาหารแปรรูปและกับแกล้มจำพวกมันฝรั่งทอด ถั่วทอดโรยเกลืออาจปรับเป็นอบเกลือและเลือกชนิดที่ไม่ออกเค็มนัก
- เลือกใช้เครื่องเทศ สมุนไพรและเครื่องชูรสชนิดอื่น ๆ เพื่อปรับรสชาติอาหาร
อาหารลดไขมัน
(เพื่อควบคุมระดับไขมันในเลือดและลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ)- จำกัดการบริโภคเนย เนยเทียม ครีมและอาหารที่มีไขมันสูง
- เลือกเนื้อสัตว์ไม่ติดหนังไม่ติดมัน เนื้อปลาและผลิตภัณฑ์จากนมพร่อมไขมัน
- รับประทานปลา 2-3 มื้อต่อสัปดาห์แทนการรับประทานเนื้อแดง
- ปรุงอาหารด้วยวิธีย่าง ต้ม อบหรือผัด แทนการทอดที่ใช้น้ำมันมาก
- ลดปริมาณไขมันในการประกอบอาหารทุกขั้นตอน
อาหารลดโปรตีน
ใช้การจำกัดอาหารที่มีโซเดียม โปแตสเซียมและโปรตีนสูงเพื่อป้องกันไม่ให้อาการของโรคไตทรุดลง สำหรับผู้มีโรคไตเรื้อรัง- จำกัดโปรตีนจากเนื้อสัตว์ เนื้อสัตว์ปีก ปลา ผลิตภัณฑ์จากนมและถั่วชนิดต่าง ๆ
เพื่อลดปริมาณโปรตีนในไตและทำให้การเสื่อมของไตช้าลง
- จำกัดปริมาณโซเดียมควบคู่กันเพื่อช่วยให้การควบคุมความดันโลหิตดีขึ้นและลดการสะสมของเหลวในร่างกาย
- จำกัดโปแตสเซียมเนื่องจากผู้ป่วยทางไตมักมีการคั่งของโปแตสเซียม ผักและผลไม้ที่มีปริมาณโปแตสเซียมต่ำคือ แตงโม สับปะรดกระป๋อง กะหล่ำปลี แตงกวา บวบ ฟักเขียว ถั่วงอก ที่ควรงดหรือระวังคือ ทุเรียน ผลไม้แห้ง มะพร้าว กล้วย ลำไย หัวปลี ผักชี ต้นกระเทียม ที่มีมากได้แก่ บร๊อคโคลี่ แครอท มันเทศ ผักบุ้ง เห็ดฟาง มะเขือพวง มะเขือเปราะ ใบแมงลัก โหระพา หน่อไม้ฝรั่ง หอมแดง ผักปวบเล้ง มันฝรั่ง มะเขือเทศ ดอกกระหล่ำ ถั่วต่างๆ เม็ดทานตะวัน กาแฟ น้ำนม