Come and enjoy lovely coffee shop and restaurant with great breeze of Chao Phraya River plus lush green garden,near Rama V bridge and Nonthaburi Pier ร้านกาแฟ เบเกอรี่ อาหารกลางวัน ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ช่วงสะพานพระราม5 และท่าน้ำนนท์ บรรยากาศสไตล์บ้านสวน ชมวิวรับลมแม่น้ำ

วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สูตรสุขภาพดีตามฤดูร้อน ฝน หนาว

               การรักษาสุขภาพให้แข็งแรงสมบูรณ์อยู่เสมอเป็นสิ่งที่ดีเพื่อป้องกันการเกิดโรค บรรเทาอาการของโรค ตลอดจนการมีชีวิตที่เป็นปกติสุข  แต่ท่ามกลางสภาวะการดำรงชีวิตที่เร่งรีบและบีบคั้นร่างกายตลอดจนจิตใจอย่างทุกวันนี้ เราจะมีวิธีการดูแลตัวเองแบบง่ายๆได้อย่างไร
              ในหลักของการแพทย์แผนไทยถือว่าการจะมีสุขภาพที่ดีได้ต้องประกอบทั้งสุขภาพกายและจิตใจ ที่สำคัญคือเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมและการสร้างความสมดุลให้กับร่างกายและจิตใจ ขณะเดียวกันเวลาและฤดูกาลก็มีส่วนเกี่ยวข้องที่สำคัญด้วย
       อ.วุฒิ วุฒิธรรมเวช แพทย์แผนไทยจากคลินิกธรรมเวชแพทย์แผนไทย อธิบายว่า ในหลักการแพทย์แผนไทยกล่าวถึงมูลของโรคหรือสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมี 8 ประการ และ 6 ประการ การที่พยายามหลีกห่างจากมูลของโรคก็เป็นหนทางที่สามารถป้องกันโรคได้
       ทั้งนี้ มูลของโรค 8 ประการ ก็คือความประพฤติของมนุษย์ที่จะทำให้โรคบังเกิดขึ้น ซึ่งจัดไว้ 8 ประการ คือ 1.อาหาร การทานอาหารมากหรือน้อยกว่าที่เคย ทานอาหารไม่ตรงกับเวลา อาหารบูดเสีย อาหารรสแปลก 2.อิริยาบถ ควรใช้อิริยาบถให้ผลัดเปลี่ยนกันตามปกติ 3.ความร้อนและเย็น เมื่อถูกความร้อนความเย็นมากเกินไป ทำให้ธาตุวิปริตแปรปรวน 4.อดนอน อดข้าว อดน้ำ 5.กลั้นอุจจาระ ปัสสาวะ 6.ทำงานเกินกำลัง 7.ความเศร้าโศกเสียใจ และ 8.โทสะ 
       ส่วนมูลเหตุของการเกิดโรค 6 ประการ ตามพระคัมภีร์ธาตุวิวรณ์ คือ 1.กินอาหารผิดเวลาและอิ่มนัก 2.เสพเมถุนมาก 3.กลางวันนอนมาก 4.กลางคืนนอนไม่หลับ 5.โทสะมาก 6.กลั้นอุจจาระ ปัสสาวะ
       “ปัจจุบันฤดูกาลเปลี่ยนแปลงคลาดเคลื่อนไปมาก ฤดูกาลในแต่ละภาคก็แตกต่างออกไป ไม่ค่อยตรงกันนัก หากจะให้ละเอียดจริงๆ ต้องพิจารณาสมุฏฐานอื่นประกอบด้วย เช่น ธาตุเจ้าเรือน หรือสภาพของร่างกายในปัจจุบัน พิจารณาตามอายุ ถ้าจะให้แน่นอนก็ควรตรวจชีพจรว่ามีลักษณะอย่างไร ซึ่งมีรายละเอียดมาก แต่ในที่นี่จะกล่าวถึงภาพรวมโดยทั่วไปในเรื่องการรักษาสุขภาพตามฤดูกาลเป็นหลัก”       
       ฤดูหลักที่มีประจำในประเทศไทยคือ ฤดู 3 อย่างไรก็ตามยังมีฤดู 4 และฤดู 6 ด้วย แต่จะขอกล่าวถึงภาพรวมใน ฤดู 3 เท่านั้น นั่นก็คือ คิมหันตฤดู หรือฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 4 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 วสันตฤดู หรือฤดูฝน ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 8 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 และ เหมันตฤดู หรือฤดูหนาว ตั้งแต่งวันแรม 1 ค่ำ เดือน 12 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 4
              “การรักษาสุขภาพในฤดูร้อนนั้น รวมระยะเวลา 4 เดือน ในระยะเวลานี้เป็นเวลาที่พื้นโลกมีความร้อนสูงขึ้น ร่างกายของคนเรากระทบกับความร้อน ทำให้ธาตุไฟ โดยเฉพาะย่างยิ่งไฟสำหรับอบอุ่นร่างกายพลอยกำเริบมากขึ้น ถ้าจะเกิดโรคก็มักเกิดเนื่องจาก ธาตุไฟ น้ำดี และโลหิต กำเริบหรือพิการ ดังนั้น การป้องกันและรักษาสุขภาพในช่วงฤดูร้อน คือ การหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นให้เกิดโรคหรืออาการที่ทำให้เพิ่มอุณหภูมิของร่างกายจนถึงขั้นผิดปกติ ซึ่งสามารถทำได้หลายทางด้วยกัน เช่น หลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค 8 และ 6 ประการ หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรืออยู่ในที่ที่มีความร้อนสูงเป็นเวลานาน ไม่ควรรับประทานอาหารที่มีรสร้อน รสมันมากเกินไป ควรรับประทานอาหารที่มีรสเย็น และรสขม”     
       ส่วนอาหารที่เหมาะสมสำหรับฤดูร้อนนั้น ในประเภทพืชผัก เช่น ถั่วพู แตงกวา แตงร้าน แตงไทย ถั่วฝักยาว ถั่วแขก ผักกาดขาว ผักบุ้ง กะหล่ำปลี ใบบัวบก กระเจี๊ยบมอญ สายบัว ผักกะเฉด ผักกูด ผักโขม ผักชีฝรั่ง ดอกแค ยอดแค ขี้เหล็ก สะเดา ตำลึง มะระ คึ่นฉ่าย ผักกาด แครอท หัวผักกาด ฟัก น้ำเต้า ผักกะสัง ผักหวาน หัวปลี หยวกกล้วย เตยหอม กระถิน ชะอม ฟักทอง เหง้าหวาย หัวลูกตาลอ่อน ยอดมะพร้าว ย่านาง ยอดฟักทอง ใบยอ ถั่วงอก มะเขือ มะเขือพวง ผักปลัง ดอกขจร หัวลูกมะพร้าวอ่อน ใบมะยม ฝักเพกา ใบกรุงเขมา(หมาน้อย) กระพังโหม ถั่วเขียว บวบ      
       ส่วนผลไม้ เช่น แตงโม ชมพู่ มะละกอ แตงไทย ลูกตาลอ่อน สาลี่ แอปเปิล ฝรั่ง แก้วมังกร รากบัวหลวง เม็ดบัว กระจับ มังคุด ซึ่งการปรุงอาหารนั้นควรปรุงให้ครบถ้วน หาใช่ใช้แต่รสใดรสหนึ่งเท่านั้น เพียงแต่เน้นส่วนปรุงตามหลักฤดูกาล นอกจากอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศแล้ว ยังมีโรคที่มาพร้อมกับความแห้งแล้ง เช่น โรคท้องร่วง อหิวาตกโรค เป็นต้น      
       สำหรับการรักษาสุขภาพในฤดูฝน  ช่วง 4 เดือนของฤดูฝนเป็นช่วงที่มีภูมิอากาศร้อนอบอ้าว มีความชื้นสูง บางครั้งมีความหนาวเย็นผสมด้วย ทำให้ร่างกายมีความร้อนและความชื้นสะสมสูงขึ้น อากาศถูกแทรกด้วยไอน้ำมากขึ้น ทำให้การหมุนเวียนของเลือดลมในร่างกายมาเป็นไปตามปกติที่เคย ทำให้ธาตุไฟ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพิกัดลมพัดในท้องแต่อยู่นอกลำไส้พลอยหวั่นไหวกำเริบขึ้น การเกิดโรคมักเกิดขึ้นเนื่องจากธาตุลมกำเริบหรือพิการ
              “ดังนั้นการป้องกันรักษาสุขภาพในหน้าฝนจึงควรหลีกเลี่ยงสาเหตุต่างๆที่ทำให้เกิดโรค ได้ เช่น หลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค 8 และ 6 ประการ อย่ากรำแดดกรำฝน หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่อับชื้น ที่มีละอองฝน ที่ที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวก เมื่อร่างกายเปียกชื้น ควรอาบน้ำเช็ดตัวให้แห้ง อย่าสวมเสื้อผ้าเปียกชื้น ไม่ควรรับประทานอาหารที่มีรสแสลงกับโรคลม เช่น รสเย็น รสเมาเบื่อ รสขม รสหอมเย็น อาหารย่อยยาก และควรรับประทานอาหารที่มีรสเผ็ดร้อน”       
       อาหารที่เหมาะสำหรับฤดูฝน ได้แก่ ขิง ข่า ตะไคร้ ใบกะเพรา กระชาย แมงลัก สะระแหน่ ช้าพลู ขมิ้นขาว ขมิ้นชัน ผักชีฝรั่ง ผักชีหอม ผักชีลาว โหระพา หอม กระเทียม ใบมะกรูด พริกไทย พริกหยวก พริกชี้ฟ้า ผักแพรว หมุย(สมัด) ดอกกะทือ ดอกกระเจียว ใบมะตูม ผักไผ่ หน่อไม้ งา เม็ดมะม่วงหิมพานต์ เปราะหอม ผักแขยง กุยฉ่าย ส่วนผลไม้ ได้แก่ ทุเรียน ละมุด ลำไย ลิ้นจี่ ขณะเดียวกันให้ระวังโรคที่มักระบาดในหน้าฝนด้วย เช่น โรคฉี่หนู โรคไข้เลือดออก โรคไข้มาลาเรีย เป็นต้น      
       ส่วนการรักษาสุขภาพในฤดูหนาว 4 เดือนที่มีการเปลี่ยนแปลงของอากาศอย่างรวดเร็ว ความชุ่มชื่นในฤดูฝนที่เกิดจากลมใต้เปลี่ยนไป เมื่อลมเหนือพัดพาเอาความหนาวเย็นและความแห้งแล้งเข้ามาแทนที่ การเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศทำให้ร่างกายปรับตัวไม่ทัน ถ้าร่างกายไม่แข็งแรง อาจเกิดการเจ็บป่วยได้ ส่วนใหญ่มักทำให้ธาตุน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพิกัดเสมหะพลอยหวั่นไหว กำเริบหย่อนหรือพิการได้
              “จะมีเสมหะมากขึ้น เกิดการอักเสบในคอ ร่างกายปรับตัวไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ หรือได้รับเชื้อโรคที่ปลิวมากับลม ที่มากับสัตว์ย้ายถิ่น เช่น ไข้หวัด ไข้กำเดา ที่มากับนกเป็ดน้ำที่มาจากไซบีเรีย เป็นต้น นอกจากเสมหะแล้ว ธาตุน้ำอื่นๆในร่างกายก็อาจกำเริบ หย่อน หรือพิการ ได้เช่นกัน เช่น ไขข้อ มันเหลว มันข้น เลือด โดยเฉพาะส่วนที่อยู่ใกล้ผิวหนังจะกระทบมากที่สุด”       
       ดังนั้น ในการป้องกัน นอกจากหลีกเลี่ยงการเกิดโรค 8 และ 6 ประการแล้ว ควรดูแลร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ สวมเสื้อผ้าให้เหมาะสม นอนในห้องที่ให้ความอบอุ่น ไม่ควรผึ่งลม ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่แสลงกับเสมหะ เช่น อาหารรสเย็น รสหวาน รสมัน และรสเค็ม ซึ่งอาจทำให้เสมหะกำเริบได้ ส่วนผู้สูงอายุหรือผู้ที่ร่างกายผอม ไขมันน้อย อาจมีปัญหาเรื่องผิวหนังแห้ง แตกระแหง ทำให้คันหรือติดเชื้อได้ง่าย ควรใช้สบู่ที่มีสรรพคุณรักษาผิว ทำให้ผิวชุ่มชื่น เช่น ชะเอมเทศ ชะเอมไทย เปลือกกล้วยหอม ขมิ้นอ้อย ขมิ้นชัน ว่านนางคำ เป็นต้น หรือใช้สบู่อ่อน เช่น สบู่สำหรับเด็ก      
         อ.วุฒิ แนะนำว่า สิ่งที่ควรทำในฤดูหนาวคือ การกระตุ้นให้ร่างกายมีความอบอุ่นอยู่เสมอ ความจริงแล้วอาหารที่ใช้ในฤดูฝนส่วนใหญ่ที่มีรสเผ็ดร้อนก็สามารถนำมาปรุงเป็นอาหารฤดูหนาวได้ดี และควรเพิ่มอาหารดังนี้เข้าไปด้วย เช่น มะเขือเทศ มะขามสด ยอดมะขาม ผักติ้ว มะละกอ ผลไม้ เช่น ส้มต่างๆ มะนาว มะเฟือง มะไฟ และให้ระวังโรคที่มากับลมหนาวตามนกที่ย้ายถิ่นหรือเกสรดอกไม้ที่ปลิวมา เช่น ไข้เปลี่ยนฤดู ไข้หวัดนก ไข้ดอกสัก เป็นต้น       
       “จะเห็นได้ว่า การดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทยตามฤดูกาลนั้น มีเนื้อหาสาระเป็นจำนวนมาก สามารถแยกออกได้หลายแขนง เช่น ด้านโภชนาการ ด้านสมุนไพร ด้านการประพฤติตน ในที่นี้สามารนำมากล่าวได้เพียงแนวทางเพื่อนำไปขยายผลตามควรต่อไปเท่านั้น หวังว่าคงสามารถจุดประกายในการพัฒนาการแพทย์แผนไทยให้เจริญก้าวไกล สามารถนำมาใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันต่อไป” 

ขอบคุณที่มา : http://my.dek-d.com/kim_potter/story/

อาหารที่ช่วยล้างพิษในร่างกาย

คนโบราณและนักโภชนาการมักกล่าวว่า "อาหาร" เป็นยาที่วิเศษที่สุด เพราะเป็นแหล่งรวมของสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายแต่ใช่ว่าต้องเป็นอาหารที่มีราคาแพงอย่างเป๋าฮื้อ หูฉลาม รังนก หรือของหายากอย่างดีหมีเท่านั้น ถึงจะให้คุณประโยชน์ต่อร่างกายได้ เพราะจากการศึกษาแล้วพบว่าอาหารที่เราหาได้ตามท้องตลาดในชีวิตประจำวันก็มีประโยชน์ในตัวไม่ใช่น้อย
ที่สำคัญอาหารเหล่านี้ยังช่วยล้างพิษให้แก่อวัยวะต่างๆ ในร่างกาย เช่น ตับ ลำไส้ ไต ผิวหนัง ช่วยป้องกันการจับตัวของสารพิษ รวมถึงช่วยขับของเสียออกจากร่างกาย ซึ่งสารพิษต่างๆ ที่สะสมอยู่ในร่างกายอาจมาจากควันพิษในอากาศ สารเจือปนในอาหาร เช่น สีผสมอาหาร สารกันเสีย ยาฆ่าแมลง ปรุงรส เป็นต้น
คราวนี้ลองมาดูกันว่าอาหารชนิดใดสามารถช่วยล้างพิษให้คุณได้บ้าง
สาหร่ายทะเล
จากการศึกษาของ Mcgill University ที่ Montreal แสดงผลว่าสาหร่ายสามารถจับของเสียจากรังสีที่สะสมในร่างกาย
ในปัจจุบันเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงรังสีต่าง ๆ จากคลื่นวิทยุ คลื่นโทรศัพท์ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และคลื่นไมโครเวฟทั้งหลายได้ ซึ่งพลังงานความร้อนเหล่านี้เป็นอันตรายต่อร่างกาย ก่อให้เกิดมะเร็งได้ สาหร่ายจะช่วยดูดซึมคลื่นรังสีเหล่านั้น และสามารถจับกับพวกโลหะหนักได้ด้วย  นอกจากนี้ยังเต็มไปด้วยโปรตีนและเกลือแร่ในปริมาณมาก
หัวหอม
มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงและสารต้านมะเร็งหลายชนิด  ช่วยทำความสะอาดเลือด  ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล LD ซึ่งไม่ดีเพราะเป็นตัวการก่อให้เกิดโรคหัวใจ
นอกจากนี้ยังช่วยทำให้ระบบทางเดินหายใจทำงานดีขึ้น ช่วยรักษาโรคหอบ โรคทางเดินหายใจ โรคภูมิแพ้ และที่สำคัญคือช่วยรักษาโรคเบาหวานโดยช่วยให้ระดับน้ำตาลคงที่
มะนาว
เป็นสุดยอดอาหารที่ช่วยทำความสะอาดตับ มีวิตามินซีสูง น้ำมะนาวสดเมื่อนำมาผสมกับน้ำอุ่นแล้วดื่มตอนเช้าหลังตื่นนอนจะช่วยล้างพิษ และทำให้เลือดสะอาดขึ้น แต่ถ้านำน้ำมะนาวสดผสมกับโยเกิร์ตและน้ำผึ้ง ก็จะเป็นอาหารที่ช่วยล้างพิษในลำไส้และป้องกันอาการท้องผูกได้อีกด้วย
เมล็ดแฟล็กส์
ประกอบไปด้วยกรดไขมันที่จำเป็น อย่างโอเมกา 3 ซึ่งมีประโยชน์ต่อสมอง ช่วยบำรุงความจำ และมีผลดีต่อหัวใจเพราะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล นอกจากนี้ยังมีสารอื่นที่ช่วยทำให้ภูมิคุ้มกันร่างการแข็งแรงขึ้น
กระเจี๊ยบ
น้ำกระเจี๊ยบมีคุณสมบัติช่วยทำความสะอาดแบคทีเรียและไวรัสออกจากระบบทางเดิน ปัสสาวะ ซึ่งมักก่อให้เกิดการติดเชื้อ ทำให้มีอาการปัสสาวะไม่ออกหรือมีเลือดปน หรือมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง ซึ่งสารในกระเจี๊ยบสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียและไวรัสเหล่านั้นได้
ทับทิม
ตำราแพทย์แผนโบราณของชาวเอเชียกล่าวไว้ว่าการดื่มน้ำทับทิมสามารถรักษาอาการ อักเสบและลดความปวดได้ เนื่องจากในผลทับทิมมีสารแอสไพรินซึ่งเป็นสารชนิดเดียวกันกับแอสไพรินในยา แก้ปวด ช่วยล้างพิษ ลดการติดเชื้อของเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย และลดอาการอักเสบ
โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการไขข้ออักเสบ ปวดบวม ช้ำ แนะนำให้กินทับทิม เพราะช่วยลดอาการปวดลงได้ ขณะเดียวกันยังมีไฟเบอร์สูง ซึ่งช่วยให้ขับถ่ายของเสียออกจากร่างกายได้ดีขึ้น
ถั่ว
(เช่นถั่วแดง ถั่วเขียว ถั่วเหลืองและถั่วขาว) จากการศึกษาพบว่าผู้ที่กินถั่วเป็นประจำมีระดับคอเลสเตอรอลน้อยกว่าผู้ที่ ไม่ได้กินและลดอัตราความเสียงต่อการเกิดโรคหัวใจด้วยพืชตระกูลถั่วนี้ประกอบ ด้วยไฟเบอร์สูง ซึ่งช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ทำความสะอาดลำไส้ ลดการสะสมของสารพิษในลำไส้ และช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ อีกทั้งช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้และมะเร็งต่อมลูกหมากด้วย
ขึ้นฉ่าย
ถือว่าเป็นสุดยอดอาหารในการทำความสะอาดเลือดและช่วยลดความดันโลหิต สำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูงควรกินขึ้นฉ่ายเป็นประจำ หรือถ้าจะให้ดีควรดื่มน้ำคั้นจากขึ้นฉ่ายสดในตอนเช้า เพื่อช่วยควบคุมระดับแรงดันเลือดให้คงที่ ในขึ้นฉ่ายยังประกอบไปด้วยสารต้านการเกิดมะเร็ง และสารที่ช่วยขับของเสียจากบุหรี่ในคนที่สูบบุหรี่หรือผู้ที่ได้รับควัน บุหรี่ด้วย
แครอท
เต็มไปด้วยสารอัลฟาและเบตาแคโรทีน ( Alpha and Beta-carotene ) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิตามินเอ และถือว่าเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีเยี่ยมช่วยปกป้องร่างกายจากสารพิษใน สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะช่วยระบบทางเดินประสาท สายตา ผิวหนัง ที่ต้องสัมผัสแสงแดดเป็นประจำ และจากการวิจัยพบว่าสารในแครอตช่วยลดการเกิดมะเร็ง และช่วยทำให้ระบบทางเดินหายใจและหัวใจแข็งแรงขึ้น
มะเขือพวง
คนไทยนิยมใส่มะเขือพวงในอาหารประเภท ผัดเผ็ด แกงป่า แกงกะทิ และน้ำพริก สมัยก่อนแกงกะทิเช่นแกงไก่ใส่มะเขือพวงเต็มไปด้วย ใส่ไก่น้อยเน้นการกินมะเขือเป็นหลักแต่ปัจจุบันกลับตรงกันข้าม แกงไก่มักใส่ไก่มากกว่ามะเขือ และคนก็เลือกกินแต่ไก่ จึงเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้คนในปัจจุบันมีรูปร่างอ้วนกว่าคนสมัยก่อน
มะเขือพวงเป็นผักที่เต็มไปด้วยไฟเบอร์ ซึ่งสามารถช่วยดูดซึมไขมันในอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วยจับไขมันอิ่มตัว (ไขมันอันตราย) และขับออกจากร่างกายโดยระบบขับถ่าย ทั้งยังมีวิตามินซีและสารต้านอนุมูลอิสระสูง จึงช่วยกำจัดของเสียออกจากระบบทางเดินอาหารได้เร็วขึ้นและลดการสะสมของเสีย
ส้มโอ
เพราะเป็นผลไม้รสชาติดีจึงได้รับความนิยมในอาหารมื้อเช้าของชาวตะวันตก สารเพกตินซึ่งเป็นไฟเบอร์ประเภทหนึ่งในเกรปฟรุต สามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ก่อนที่จะจับตัวเป็นก้อนและขวางทางเดินในหลอดเลือด
นอกจากนี้เพกตินยังสามารถช่วยป้องกันไม่ให้โลหะหนักเหล่านี้ทำอันตรายต่อ ร่างกาย ส่วนเกรปฟรุตช่วยต่อต้านการเกิดมะเร็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมะเร็งกระเพราะอาหารและมะเร็งตับอ่อน สารต้านอนุมูลอิสระในเกรปฟรุตช่วยปกป้องสารพิษที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
กระเทียม
จากหลายการศึกษาให้ผลตรงกันถึงคุณสมบัติของกระเทียมในการทำความสะอาดร่างกาย นั่นคือ การกินกระเทียมเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ขับและฆ่าพยาธิในทางเดินอาหาร และฆ่าเชื้อไวรัส โดยเฉพาะทำความสะอาดเลือดและระบบลำไส้ ทำให้เส้นเลือดมีความยืดหยุ่นและลดแรงดันโลหิต
นอกจากนี้ยังต่อต้านการเกิดมะเร็งและทำให้ระบบทางเดินหายใจดีขึ้น แต่ก็ควรระวังเรื่องการกินกระเทียมมากเกินไป ซึ่งก่อให้เกิดลมหายใจที่มีกลิ่นกระเทียมไปด้วย
บลูเบอร์รี่
เป็นผลไม้ที่มีค่าแอนติออกซิแดนต์สูงมากชนิดหนึ่งและถือเป็นหนึ่งในสุดยอด อาหารรักษาโรค เนื่องจากในบลูเบอร์รี่มีสารแอสไพรินตามธรรมชาติ ซึ่งช่วยลดการระคายเคือง สารที่มีในบลูเบอร์รี่สามารถเข้าไปขัดขวางแบคทีเรียในทางเดินปัสสาวะ ส่งผลให้ลดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
กระหล่ำ
เต็มไปด้วยสารต่อต้านมะเร็งและอนุมูลอิสระ ( Antioxidant ) และช่วยตับขับฮอร์โมนที่มากเกินไป ซึ่งอาจเป็นฮอร์โมนความเครียดที่มีผลเสียต่อร่างกาย ทั้งยังช่วยทำความสะอาดระบบย่อยอาหาร รักษาและปกป้องกระเพราะอาหารจากแบคทีเรียและไวรัสต่างๆ พืชตระกูลกะหล่ำ ได้แก่ กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอกโคลี และกะหล่ำปม ผักเหล่านี้ช่วยทำความสะอาดร่างกายและช่วยกำจัดของเสียจากสิ่งแวดล้อม เช่น ของเสียจากควันบุหรี่ ควันจากท่อไอเสีย และช่วยให้ตับผลิตเอนไซม์ออกมาให้เพียงพอในการกำจัดของเสีย
บีทรูต
ผักสีแดงที่นิยมใส่ในสลัดนี้นับเป็นผักมหัศจรรย์ซึ่งเประกอบไปด้วยไฟโรเคมี คอล ( Phytochemical ) วิตามินและเกลือแร่หลายชนิด ซึ่งทำให้บีตรูตมีคุณสมบัติต่อต้านชื้อโรค ทำความสะอาดเลือด ตับและระบบน้ำเหลือง อีกทั้งมีคุณสมบัติช่วยให้ร่างกายรับออกซิเจนได้มากขึ้น จึงช่วยกำจัดของเสียได้ง่ายและเร็วขึ้น ซึ่งจากกการศึกษาเมื่อไม่นานมานี้พบว่าบีตรูตช่วยปรับระดับกรด-ด่างในเลือด ให้สมดุลด้วย
อะโวคาโด้
อาจยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก แต่ปัจจุบันเราก็สามารถหาซื้ออะโวคาโดได้จากตลาดทั่วไป ในอะโวคาโดมีสารกลูตาไทโอน(Glutathione ) ที่สามารถช่วยลดคอเลสเตอรอลและป้องกันหลอดเลือดอุดตัน ทำให้หลอดเลือดมีความยืดหยุ่น ทั้งช่วยจับสารพิษที่เป็นตัวก่อให้เกิดมะเร็งกว่า 30 ชนิด และขณะเดียวกันก็ช่วยให้ตับกำจัดของเสียจำพวกสารเคมีและโลหะหนัก ซึ่งนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมิชิแกน ( University of Michigan ) พบว่าผู้สูงอายุซึ่งกินอาหารที่มีสารกลูตาไทโอนสูงจะมีสุขภาพดีกว่าคนที่ไม่ ได้กิน และมีอัตราการเกิดโรคหัวใจน้อยกว่า 30 เปอร์เซ็นต์
ตำลึง
ผักใบเขียวที่ขึ้นข้างรั้วหาง่าย และราคาไม่แพงนี้ ในสมัยก่อนเรามักนำมาทำแกงจืดตำลึงโดยใสเนื้อสัตว์น้อยๆ แต่ปัจจุบันดูเหมือนว่าแกงจืดตำลึงจะมีตำลึงอยู่ไม่กี่ใบ และมีหมูสับเต็มไปหมด ซึ่งตำลึงมีคุณสมบัติ ช่วยผลิตน้ำดีที่จะทำให้ลำไส้ขับสารพิษออกจากร่างกายได้ดีขึ้น นอกจากนี้สารที่มีอยู่ในตำลึงยังช่วยให้ตับสลายไขมันในร่างกายด้วย
แอ๊ปเปิ้ล
ประกอบไปด้วยเพกตินสูง เพกตินเป็นไฟเบอร์ชนิดหนึ่งที่ช่วยจับคอเลสเตอรอลและโลหะหนักในร่างกายที่ ปะปนมากับอาหาร เช่น ปรอท ตะกั่ว ซึ่งทำลายเซลล์สมอง นี่คือเหตุผลที่เราควรจะกินแอปเบิลเพื่อล้างสารพิษออกจากร่างกาย
นอกจากนี้ยังมีคุณประโยชน์ช่วยต่อต้านการเกิดมะเร็ง ฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส จากการศึกษาทดลองยังพบว่าแอปเปิลช่วยขับสารเคมีที่ปนเปื้อนในอาหาร ซึ่งก่อให้เกิดอาการแพ้ในเด็ก และทำให้เกิดไมเกรนในผู้ใหญ่ได้
อัลมอนด์
เป็นถั่วที่มีใยอาหารสูง มีแคลเซียมและโปรตีนที่ดีต่อร่างกาย แม้จะมีไขมัน แต่ก็เป็นไขมันที่ดีและจำเป็นต่อร่างกายในระหว่างที่เราทำการล้างพิษจึงควร กินอัลมอนด์ นอกจากนี้อัลมอนด์ยังช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
ซึ่งถ้าระดับน้ำตาลในเลือดสูงก็จะเกิดอาการไฮเปอร์ไกลซีเมีย ( Hyperglycemia ) ทำให้รู้สึกหิวน้ำมากกว่าปกติ หายใจไม่ออก ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ และหากน้ำตาลในเลือดต่ำที่เรียกว่า ไฮโปไกลซีเมีย( Hypoglycemia )จะทำให้เกิดอาการหน้ามืด เป็นลม ใจสั่น ไม่มีแรง คิดอะไรไม่ออก
กล้วย
มีคุณสมบัติในการบำรุงและสร้างความแข็งแรงแก่กระเพาะอาหาร ในขณะเดียวกันก็ให้เกลือแร่ที่จำเป็นแก่ร่างกาย เช่น โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียมช่วยควบคุมระดับของเหลวในร่างกายโดยช่วยขับของเหลว หรือสารพิษส่วนเกินออกจากร่างกายโดยช่วยขับของเหลว หรือสารพิษส่วนเกินออกจากร่างกายได้ดีขึ้น การกินกล้วยเป็นประจำยังช่วยป้องกันท้องผูก ทำให้ระบบขับถ่ายเป็นปกติอีกด้วย
 
Plantilla Minima modificada por Urworstenemy